บทความ : แผลกดทับกับผู้สูงอายุภาวะติดเตียง

ผู้เยี่ยมชม : 193
ลงข้อมูลเมื่อ : 04/02/2022 12:25
ตั้งแต่ 04/02/2022 ถึง 04/02/2022

แผลกดทับกับผู้สูงอายุภาวะติดเตียง 

 

 

การเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยที่มีข้อจำกัด ในการเคลื่อนไหว หรือมีภาวะติดเตียง และนอนในท่านอนหงายเป็นเวลานาน การดูแล และป้องกันไม่ให้เกิดแผลกดทับย่อมดีกว่าการมาดูแลรักษาแผลในภายหลัง เพื่อเลี่ยงการเจ็บแผล ล้างแผล และสูญเสียค่าใช้จ่ายทุกวัน รวมทั้งเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น 


หมอนพลิกตะแคงผู้ป่วยติดเตียง 30องศา ช่วยป้องกันการเกิดแผลกดทับได้ด้วยการช่วยจัดท่าให้สะโพกเอียง ทำมุม กับที่นอน เพื่อเลี่ยงแรงกดทับของปุ่มกระดูกก้นกบ ในท่านอนหงาย 


การจัดท่าตะแคงเอียง 30 องศา กับผู้ป่วยสภาวะติดเตียง

 

นอกเหนือจากการหลีกเลี่ยงการลาก ดึง ผู้ป่วย จนเกิดแรงเสียงสี ที่ผิวหนังแล้ว การใช้หมอนตะแคง 30 องศา ในการจัดท่านอนกับผู้ป่วยติดเตียง ช่วยหลีกเลี่ยงการเกิดแผลกดทับ ดังนี้

 

     1.  ให้ผู้ป่วยนอนหงายราบหนุนหมอนที่ศรีษะ

    2.  จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนตะแคงกึ่งหงายให้สะโพกเอียงทำมุม 30 องศากับที่นอน เพื่อหลีกเลี่ยงแรงกดของปุ่มกระดูกช่วงไหล่ กับสะโพก




     3.  สอดหมอนปลายด้านหนึ่งอยู่บริเวณไหล่ ปลายอีกด้านของหมอน อยู่บริเวณสะโพก

     4.  ผู้ป่วยนอนราบบนหมอนพลิกตะแคง 30 องศา 

     5.  ปรับเปลี่ยนท่านอนตะแคงด้วยหมอนพลิกตะแคง 30 องศา อย่างน้อย  ทำทุก2ชั่วโมง ทั้งด้านซ้าย และ ด้านขวาของผู้ป่วย 


ด้วยความปรารถนาดี จากวีซีเนียร์ Vsenior


ทุกวันทำการ 8.00-19.30 น. 096-926-2170

สมัครรับข่าวสาร